ลักษณะที่ตั้ง
ตำบลนาซ่า เป็นเขตการปกครองของ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีพื้นที่ประมาณ 110.25 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 68,906 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและภูเขา เหมาะสำหรับการทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ |
อาณาเขตติดต่อ |
|
ทิศเหนือ
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
ทิศใต้ |
จด ตำบลเชียงคาน
จด ตำบลเขาแก้ว
จด ตำบลปากตม
จด ตำบลหาดทรายขาว และตำบลจอมศรี |
อำเภอเชียงคาน
อำเภอเชียงคาน
อำเภอเชียงคาน
อำเภอเชียงคาน |
จังหวัดเลย
จังหวัดเลย
จังหวัดเลย
จังหวัดเลย |
|

ลักษณะทางสังคม
การศึกษา |
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง
- โรงเรียนเรียนมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส มัธยมต้น) 2 แห่ง ได้แก่
– โรงเรียนบ้านนาบอน
– โรงเรียนบ้านใหม่ศาลาเฟือง
- โรงเรียนอุดมศึกษา ไม่มี
|
|
สาธารณสุข |
- โรงพยาบาล ไม่มี
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 6 แห่ง (คลีนิกผดุงครรภ์)
|
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา |
- วัด/สำนักสงฆ์ 16 แห่ง
- ศาลปู่ตา 7 แห่ง
|
|
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง ( ศูนย์บริการประชาชนตำบลนาซ่าว )
- รถน้ำเอนกประสงค์บริการประชาชน 1 คัน
|
|
|
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ ตำบลนาซ่าว ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และอาชีที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ การทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่งสามารถจำแนกการใช้พื้นที่ ได้ดังนี้ |
- พื้นที่ทำนา 13,200 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ 10,600 ไร่
- พื้นที่ปลูกไม้ผล 350 ไร่
- พื้นที่ปลูกยางพารา 2,250 ไร่
- อื่น ๆ 1,300 ไร่
|
หน่วยธุรกิจในเขพื้นที่ตำบลนาซ่าว ประกอบด้วย |
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 14 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (ลานรับซื้อมันสำปะหลัง) 2 แห่ง
- โรงสีข้าว 13 แห่ง
- ธนาคาร ไม่มี
- โรงแรม ไม่มี
|
ลักษณะทางทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำ |
- ลำน้ำ ลำห้วย 10 สาย
- บึง,หนองและอื่นๆ 15 แห่ง
- ฝาย 19 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 150 แห่ง
- บ่อบาดาล 80 แห่ง
|
|
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ |
ทรัพยากรดิน โดนทั่วไปแล้วเป็นที่ราบสูงภูเขา ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุอาหารต่างๆ ล้วนแต่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ |
ทรัพยากรน้ำ มีแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ไหลลงสู่ที่ลุ่มอย่างรวดเร็ว ห้วย หนอง คลอง บึง บางแห่งตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี ทำให้ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรในหน้าแล้ง |
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม |
- มีรถโดยสารประจำทาง เชียงคาน – เลย เริ่มออกเวลา 05.30 น. ถึง เวลา 17.30 น. ทุก 15 นาที
- มีรถร่วม บขส. (99) เชียงคาน – เลย – กรุงเทพฯ ผ่านวันละ 1 เที่ยว
- มีรถโดยสารปรับอากาศประจำทาง เชียงคาน – เลย – โคราช ผ่านทุก 1 ชั่วโมง เริ่มเวลา 06.00 น. ถึง เวลา 15.00 น.
- รถโดยสารปรับอากาศประจำทาง (999) VIP เชียงคาน – เลย – กรุงเทพฯ ผ่านวันละ 1 เที่ยว
- รถโดยสารปรับอากาศบริษัทแอร์เลย เชียงคาน – เลย – กรุงเทพฯ ผ่านวันละ 2 เที่ยว
|
|
การโทรคมนาคม |
- ตู้ไปรษณีย์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 15 หมู่บ้าน
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 15 หมู่บ้าน
|
|
การไฟฟ้า |
- จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงทั้งหมด 15 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้ามีจำนวน 3,432 ครัวเรือน
|
|
แหล่งน้ำธรรมชาติ |
- ลำน้ำ,ลำห้วย จำนวน 10 สาย
- บึง,หนองและอื่นๆ จำนวน 15 แห่ง
|